This study aimed to reconstruct social networks in Log Coffin culture, Pang Mapha district, Mae Hong Son Province during 2,120-1,250 B.P. A total of 204 log coffins from 33 archaeological sites were analyzed using Social Network Analysis combined with the carbon-14 ages of log coffins. The results of this study revealed that the networks of coffin head types 1A, 1B, and 5D had the highest density. Types 2A, 2B, 5C, 6C, and 8D were parts of medium density networks. Types 5F, 6A, and 6F belonged to the lowest density networks. Thus, the density of a network is related to how long the types were made and used. Coffin head types with densely connected networks were made and used continuously for a long time, while the coffin head types with small networks were made and used for a short period. The results also showed that Lang, Mae Lana, and Khong sub-watersheds probably were the same cultural group because of the connections between these locales. Additionally, Archaeological sites with high degree centrality scores were locations in which a large number of coffins with various head styles and modified teeth were manifested. This indicates the relationships between different social groups. Further, Carbon-14 dates of log coffins and continuity and variation of coffin head styles demonstrated the dynamic nature of these networks. Finally, the results showed that in 1,700 B.P., interaction between different social groups and the expansion of networks occurred in highland Pang Mapha, evidenced by the distinctive head styles that were presented in this period.


เครือข่ายทางสังคมในวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2,120-1,250 ปีมาแล้ว) ผู้แต่ง

การศึกษาเครือข่ายการทำและใช้โลงไม้ของวัฒนธรรมโลงไม้ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ในช่วง 2,120-1,250 ปีมาแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ภายในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันของ แหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโลงไม้จำนวน 33 แห่ง โดยการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ซึ่งวิเคราะห์จากความคล้ายคลึงของรูปแบบหัวโลงของโลงไม้จำนวน 204 โลง และตีความร่วมกับค่าอายุคาร์บอน-14 ของโลงไม้ ผลการศึกษาพบว่า 1) เครือข่ายรูปแบบหัวโลง 1A, 1B และ 5D เชื่อมโยงหนาแน่นมากที่สุด เครือข่ายรูปแบบ 2A, 2B, 5C, 6C และ 8D มีความหนาแน่นปานกลาง และเครือข่ายรูปแบบ 5F, 6A และ 6F เชื่อมโยงเบาบาง ดังนั้นความหนาแน่นของเครือข่ายสัมพันธ์กับความต่อเนื่องของการทำและใช้โลงไม้ รูปแบบหัวโลงที่มีเครือข่ายหนาแน่นถูกทำและใช้ต่อเนื่องหลายช่วงเวลา ส่วนรูปแบบหัวโลงที่มีเครือข่ายขนาดเล็กถูกทำและใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ 2) คนวัฒนธรรมโลงไม้ในลุ่มน้ำสาขาเดียวกันและต่างลุ่มน้ำสืบทอดภูมิปัญญาการทำโลงไม้ โดยลุ่มน้ำสาขาลาง แม่ละนา และของอาจเป็นกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน 3) แหล่งโบราณคดีที่มีค่าระดับความเป็นศูนย์กลางสูงมีรูปแบบหัวโลงที่หลากหลาย รวมทั้งรูปแบบหัวโลงดั้งเดิม มีโลงไม้จำนวนมากและพบ ฟันตกแต่ง แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคมหลายกลุ่ม 4) ความต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงของค่าอายุคาร์บอน-14 ของรูปแบบหัวโลง ทำให้ทราบเบื้องต้นว่าอาจมีพลวัตของเครือข่ายการทำและใช้โลงไม้ และ 5) วัฒนธรรมโลงไม้ในช่วง 1,700 ปีมาแล้ว มีการติดต่อกับกลุ่มสังคมใหม่ เครือข่ายอาจขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากพบรูปแบบหัวโลงรูปแบบใหม่ที่ต่างไปจากรูปแบบที่พบทั่วไป